top of page


Wachara Saetae



ในค.ศ. 1324 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 สิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาท ทำให้ราชวงศ์กาเปเชียงสายตรงต้องสิ้นสุดลง พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด แต่ขุนนางฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศส จึงอ้างกฎบัตรซาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ (Philip, Count of Valois) ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ (Valois dynasty) ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเชียง ในค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแคว้นกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทันสงครามร้อยปีเริ่มต้นในค.ศ. 1337 ในตอนแรกทัพเรือฝรั่งเศสสามารถโจมตีเมืองท่าอังกฤษได้หลายที่ แต่ลมก็เปลี่ยนทิศเมื่อทัพเรือฝรั่งเศสถูกทำลายล้างในการรบที่สลุยส์ (Sluys) ในค.ศ. 1341 ตระกูลดรือซ์แห่งแคว้นบรีตตานีสูญสิ้น พระเจ้าเอ็ดวาร์ดและพระเจ้าฟิลิปจึงสู้รบกันเพื่อให้คนของตนได้ครองแคว้นบรีตตานี ในค.ศ. 1346 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสามารถขึ้นบกได้ที่เมืองคัง ในนอร์มังดี เป็นที่ตกใจแก่ชาวฝรั่งเศส พระเจ้าฟิลิปแต่งทัพไปสู้ แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงหลบหนีไปประเทศภาคต่ำ (Low Countries) ทัพฝรั่งเศสตามมาทัน แต่พ่ายแพ้ยับเยินที่การรบที่เครซี (Crecy) ทำให้พระเจ้าเอ็ดวาร์ดต่อไปยึดเมืองท่าคาเลส์ของฝรั่งเศสและยึดเป็นที่มั่นบนแผ่นดินฝรั่งเศสได้ในค.ศ. 1347ในค.ศ. 1348 ระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟด้วยสงคราม กาฬโรคก็ระบาดมาถึงฝรั่งเศส คร่าชีวิตผู้คนหลายล้าน ทำให้ประชากรฝรั่งเศสลดลงอย่างมาก ทำให้สงครามหยุดชะงัก จนโรคระบาดเริ่มคลี่คลายในค.ศ. 1358 องค์ชายเอ็ดวาร์ด (Edward, the Black Prince) พระโอรสของพระเจ้าเอ็ดวาร์ด บุกอังกฤษจากกาสโคนี ชนะฝรั่งเศสในการรบที่ปัวติแยร์ (Poitiers) จับพระเจ้าฌองแห่งฝรั่งเศสได้ ด้วยอำนาจของฝรั่งเศสที่อ่อนแอลง ทำให้ตามชนบทไม่มีขื่อแปโจรอาละวาด ทำให้ชาวบ้านก่อจลาจลกันมากมาย พระเจ้าเอ็ดวาร์ดเห็นโอกาสจึงทรงบุกอีกครั้ง แต่ถูกองค์รัชทายาทแห่งฝรั่งเศสต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญาบรีติญญี ในค.ศ. 1360 อังกฤษได้อากีแตน บรีตตานีครึ่งนึง คาเลส์แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 5 และแบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง (Bertrand du Guesclin) ก็สามารถยึดดินแดนต่างๆคืนได้ในรัชสมัยของพระองค์ เพราะอังกฤษติดพันกับสงครามในสเปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1377 และองค์ชายเอ็ดวาร์ดค.ศ. 1376 แต่ดูเกอสแคลงก็สิ้นชีวิตในค.ศ. 1380 จนทำสัญญาสงบศึกกันโยนแห่งอาร์คกู้เมืองออร์เลียงส์สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมืองระหว่างตระกูลอาร์มันญัค (Armagnac) และดยุคแห่งเบอร์กันดี และขอให้อังกฤษช่วย พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ ก็ทรงนำทัพบุกฝรั่งเศสในค.ศ. 1415 และชนะฝรั่งเศสขาดลอยในการรบที่อแกงคูร์ต (Agincourt) ได้ดยุคแห่งเบอร์กันดีมาเป็นพวก และยึดฝรั่งเศสตอนเหนือไว้ได้ทั้งหมดในค.ศ. 1419 พระเจ้าเฮนรีทรงเฝ้าพระเจ้าชาลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสซึ่งทรงพระสติไม่สมประกอบ ทำสัญญาให้พระโอรสพระเจ้าเฮนรีขึ้นครองฝรั่งเศสเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์สิ้นพระชนม์ แต่ทัพสกอตแลนต์ก็มาช่วยขัดขวางเอาไว้ เมื่อพระเจ้าชาลส์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส แต่ตระกูลอาร์มันญัคยังคงจงรักภัคดีต่อองค์รัชทายาทฝรั่งเศสในค.ศ. 1428 อังกฤษล้อมเมืองออร์เลียงส์ แต่โยนแห่งอาร์ค (Joan of Arc หรือ Jeanne d'Arc - ชานดาก) เสนอตัวขับไล่ทัพอังกฤษกล่าวว่านางเห็นนิมิตว่าพระเจ้าให้เธอปลดปล่อยฝรั่งเศสจากอังกฤษ จนสามารถขับไล่ทัพอังกฤษออกไปได้ในค.ศ. 1429 และยังสามารถเปิดทางให้องค์รัชทายาทสามารถยึดเมืองแรงส์เพื่อราชาภิเษกพระเจ้าชาลส์ที่ 7 นับเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามร้อยปี แต่โยนแห่งอาร์คถูกพวกเบอร์กันดีจับได้และส่งให้อังกฤษ และถูกเผาทั้งเป็น ในค.ศ. 1435 แคว้นเบอร์กันดีหันมาเป็นพวกฝรั่งเศส แม้ฝ่ายอังกฤษจะมีจอห์น ทัลบอต ที่ดุร้าย แต่พระเจ้าชาลส์ที่ 7ก็ทรงสามารถยึดฝรั่งเศสคืนได้เกือบหมดในค.ศ. 1453 (ยกเว้นคาเลส์) ในการรบที่คาสตีลโลญ(Castillogne) ซึ่งฝรั่งเศสใช้ปืนเป็นครั้งแรก เป็นอันสิ้นสุดสงครามร้อยปีฟื้นฟูศิลปวิทยาการและสงครามศาสนา[แก้]หลังสิ้นสุดสมัยกลางฝรั่งเศสไม่ใช่ดินแดนของขุนนางที่เอามาแปะรวมกันอีกต่อไป แต่เป็นประเทศที่เป็นปึกแผ่นภายใต้กษัตริย์ฝรั่งเศส แต่แคว้นเบอร์กันดีภายใต้ดยุคชาลส์ผู้แข็งแกร่งก็กำลังเรืองอำนาจอยู่ทางตะวันออก จนพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ทรงร่วมมือกับสมาพันธรัฐสวิส ชนะสงครามกับแคว้นเบอร์กันดี และได้แคว้นเบอร์กันดีมาครอง แต่ดินแดนที่เหลือโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคต่ำตกเป็นของฟิลิปพระโอรสของจักรพรรดิแมกซิมิเลียนแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ดูบทความหลักที่ สงครามอิตาลีพระเจ้าฟรองซัวที่ 1ดยุคลุโดวิโก ซฟอร์ซา แห่งมิลาน ต้องการเป็นใหญ่ในอิตาลี จึงอัญเชิญพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ให้บุกยึดคาบสมุทรอิตาลี พระเจ้าชาร์ลส์เองก็ทรงต้องการอ้างสิทธิ์ของพระองค์ต่อบัลลังก์ราชอาณาจักรเนเปิลส์ จึงทรงกรีฑาทัพเข้าสู่อิตาลีใน ค.ศ. 1494 บรรดาเจ้าเมืองน้อยใหญ่ทั้งหลายไม่อาจต้านทานทัพของพระเจ้าชาร์ลส์ได้ จนทรงยึดเมืองเนเปิลส์ได้ แต่บรรดาเมืองต่างในอิตาลีและจักรพรรดิแมกซิมิเลียนไม่ต้องการให้ฝรั่งเศสขยายอำนาจจึงตีทัพพระเจ้าชาลส์หนีกลับไปฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ทรงเคียดแค้นดยุคลุโดวิโกที่ทรยศพระเจ้าชาร์ลส์เข้าพวกอิตาลี ใน ค.ศ. 1499 จึงทรงยกทัพยึดแคว้นลอมบาร์ดี (มิลาน) ปีต่อมา ค.ศ. 1500 ทรงร่วมมือกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งสเปน บุกยึดอาณาจักรเนเปิลส์ แต่เมื่อยึดได้แล้วกลับตกลงแบ่งส่วนกันไม่ได้ จนพระเจ้าหลุยส์ถูกทัพสเปนตีพ่ายแพ้ บรรดาเมืองต่างๆในอิตาลีก็รวมกันเป็นสันนิบาตต่อต้านอีก พระเจ้าหลุยส์จึงทรงถอยกลับพระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ทรงยึดมิลานคืนได้จากสวิส ใน ค.ศ.1516 จักรพรรดิแมกซิมีเลียนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าฟรองซัวหวังจะได้เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ แต่ตำแหน่งก็ตกเป็นของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ทำให้พระเจ้าฟรองซัวทรงโกรธแค้นจักรพรรดิชาลส์ ทำให้ทรงหาข้ออ้างบุกเนเปิลส์คืนจากสเปนแต่ไม่เป็นผล และทัพสเปนก็บุกมิลาน พระเจ้าฟรองซัวนำทัพไปป้องกัน แต่พ่ายแพ้และทรงถูกจับไปเมืองมาดริดใน ค.ศ. 1525 จนเมื่อทรงสัญญาว่าจะไม่บุกอิตาลีอีก และไถ่พระองค์ด้วยเงินมหาศาล พระเจ้าฟรองซัวจึงถูกปล่อยพระองค์พระเจ้าฟรองซัวหันไปหาสุลต่านสุไลมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ร่วมมือกันบุกเมืองนีซ แต่ไปไม่ถึงมิลาน จักรพรรดิชาร์ลส์ร่วมมือกับพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษบุกฝรั่งเศสจากทางเหนือ แต่ไม่เป็นผล พระเจ้าอองรีที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าฟรองซัว ทรงบุกจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์เพื่อแก้แค้นให้พระบิดา แต่ไม่ประสบผล จึงทำสนธิสัญญากาโต-กังเบรซี ฝรั่งเศสถอนสิทธิทั้งหมดในคาบสมุทรอิตาลี สิ้นสุดสงครามอิตาลีสงครามอิตาลีทำให้กระแสการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เข้าสู่ฝรั่งเศส พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ก็ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ฟื้นฟูศิลปวิทยาการพระองค์แรก ทรงมีความรู้ในศาสตร์หลายด้าน และทรงนิพนธ์หนังสือหลายฉบับ โดยทรงให้จิตรกรชื่อดัง ลีโอนาร์โด ดาวินชี ออกแบบพระราชวังชองโบด์ที่อลังการเพื่อโอ้อวดจักรพรรดิชาร์ลส์ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดวรรณกรรมภาษาฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก (ตลอดสมัยกลางมีแต่ภาษาลาติน) พระเจ้าฟรองซัวทรงประกาศให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ นักเขียนหลายท่าน เช่น ฟรองซัว ราเบอเลส์ ช่วยกันสร้างสรรค์ภาษาฝรั่งเศสที่สวยงาม ฝรั่งเศสยังมีจิตรกรชื่อดังหลายคนสมัยนี้ เช่น ชอง ฟูเกต์ และสถาปนิก ปิแอร์ เลส์โกต์และชัคส์ กาติแยร์ ยังเดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาอีกด้วยดูบทความหลักที่ สงครามศาสนาฝรั่งเศสเหตุการณ์สังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิวกระแสการปฏิรูปศาสนาในเยอรมนีแผ่อิทธิพลมาถึงฝรั่งเศส โดยลัทธิที่แพร่หลายในฝรั่งเศสคือนิกายคัลแวง ของ ชอง คัลแวง แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสทุกพระองค์ทรงยึดมั่นในนิกายคาทอลิก พวกโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสจึงถูกกวาดล้างอยู่บ่อยครั้ง และถูกตั้งชื่อว่า พวกอูเกอโนต์ (Huguenots)พระเจ้าอองรีที่ 2 สิ้นพระชนม์ระหว่างการประลองดาบในการทำสนธิสัญญากาโต-กังเบรซี พระเจ้าฟรองซัวที่ 2 ครองราชย์แทน พระเจ้าฟรองซัวทรงอภิเษกกับราชินีมารีที่เพิ่งหลบหนีมาจากสกอตแลนด์เพราะถูกยึดอำนาจ พระปิตุลา คือ ดยุคแห่งกีส เข้ามามีอำนาจปกครองบ้านเมือง ตระกูลกีสเป็นตระกูลที่คาทอลิกจัด ต่อต้านโปรเตสแตนต์ทุกประเภท กดขี่พวกอูเกอโนต์ ในค.ศ. 1560พระเจ้าฟรองซัวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 ขึ้นครองราชย์แต่ยังพระเยาว์ พระนางคัทเธอรีน เดอ เมดีซีพระมารดาสำเร็จราชการแทน พระนางทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะอยู่รอดท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างตระกูลกีสคาทอลิกจัด และตระกูลบูร์บงอูเกอโนต์ พระนางคัทเทอรีนทรงให้เสรีภาพทางศาสนาแก่พวกอูเกอโนต์ในค.ศ. 1562 เพื่อคานอำนาจตระกูลกีส ตระกูสกีสไม่พอใจกดดันให้พระนางยกเลิกกฤษฎีกา สงครามศาสนาฝรั่งเศสจึงปะทุแต่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน (ทรงได้ชื่อว่าเคร่งครัดคาทอลิกที่สุดในโลกขณะนั้น) เริ่มสะสมทัพตามชายแดน ทั้งทางสเปนและแคว้นเบอร์กันดี (เป็นของสเปน) ทำให้ฝ่ายอูเกอโนต์ไม่พอใจ จึงทำสงครามอีกครั้ง คราวนี้ประเทศต่างๆในยุโรปเข้าร่วมด้วย ฝ่ายคาทอลิกนำโดยตระกูลกีสและดยุคแห่งอังชูได้พระนางคัทเทอรีนมาเป็นพวก และยังได้พระเจ้าฟิลิปแห่งสเปนและพระสันตปาปาสนับสนุนด้วย ฝ่ายโปรเตสแตนต์นำโดยองค์ชายแห่งกองเดได้พระนางอลิซาเบ็ธที่ 1 แห่งอังกฤษและเจ้าครองแคว้นที่ถือนิกายคัลแวงในเยอรมนีในค.ศ. 1572 องค์หญิงมาร์เกอริตแห่งวาลัวส์ที่เป็นคาทอลิกอภิเษกกับพระเจ้าอองรีแห่งนาวาร์ตระกูลบูร์บงที่เป็นอูเกอโนต์ ดยุคแห่งกีสบุกและกระจายทัพสังหารพวกอูเกอโนต์ในปารีสทั้งหมดอย่างโหดร้าย ทำให้ปารีสเกิดกลียุค เรียกว่า การสังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิวพระเจ้าอองรีแห่งนาวาร์ หรือพระเจ้าอองรีที่ 4 ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงพระเจ้าอองรีที่ 3 ขึ้นครองราชย์ในค.ศ. 1575 ทรงผ่อนปรนพวกอูเกอโนต์ ทำให้ดยุคอองรีแห่งกีสไม่พอใจ ตั้งสันนิบาตคาทอลิกภายใต้การสนับสนุนของสเปน กดดันให้พระเจ้าอองรีเลิกสิทธิของพวกอูเกอโนต์ ในค.ศ. 1584 พระอนุชาของพระเจ้าอองรีและรัชทายาทพระองค์เดียว สิ้นพระชนม์ ทำให้บัลลังก์ตกเป็นของพระเจ้าอองรีแห่งนาวาร์ที่เป็นอูเกอโนต์ ในค.ศ. 1584 ดยุคแห่งกีสทำสนธิสัญญากับพระเจ้าฟิลิปแห่งสเปน ว่าสเปนจะช่วยสันนิบาตคาทอลิกอย่างจริงจังในค.ศ. 1588 ชาวปารีสที่คาทอลิกจัด รวมขบวนประท้วงขับไล่พระเจ้าอองรีที่ 3 ออกจากเมือง เพราะทรงผ่อนปรนพวกอูเกอโนต์ ทำให้ตระกูลกีสครองเมืองปารีส พระเจ้าอองรีที่ 3 จึงหลอกล่อให้ดยุคอองรีแห่งกีสมาพบ และสังหาร ทำให้ชาวฝรั่งเศสคาทอลิกโกรธแค้นพระเจ้าอองรี พระเจ้าอองรีที่ 3 ทรงหนีไปหาพระเจ้าอองรีแห่งนาวาร์ มอบบัลลังก์ให้ ทั้งฝ่ายคาทอลิก ที่มีฐานทางเหนือและตะวันออกของประเทศ และฝ่ายโปรเตสแตนต์ ที่มีฐานทางตะวันตกและใต้ ทำสงครามของอองรีทั้งสาม (War of Three Henrys) ในค.ศ. 1589 พระเจ้าอองรีแห่งนาวาร์ทรงชนะพวกคาทอลิกบุกไปถึงทางเหนือ แต่ไม่อาจยึดปารีสได้ จนพระองค์ทรงอุทานว่า Paris vaut bien une masse. (ปารีสช่างมีค่าเหลือเกิน)ทรงเข้ารีตคาทอลิกในค.ศ. 1593 ชาวปารีสจึงยอมให้เข้าเมืองแต่โดยดี ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอองรีที่ 4 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงในค.ศ. 1598 พระเจ้าอองรีที่ 4 ทรงออกกฤษฎีกาแห่งเมืองนังทส์ ให้เสีภาพทางศาสนาแก่พวกอูเกอโนต์ทุกประการราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1593 - ค.ศ. 1793)[แก้]คาร์ดินัล ริเชอลิเออสมัยราชวงศ์บูร์บงเป็นสมัยที่ฝรั่งเศสรุ่งโรจน์ พระเจ้าอองรีที่ 4 ทรงส่งแซมมวล เดอ ชองแปลง (Samuel de Champlain) ไปตั้งเมืองคิวเบกและอาณานิคมแคนาดา ในค.ศ. 1610 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ครองราชย์แต่ยังพระเยาว์ มีคาร์ดินัล ริเชอลิเออ (Cardinal Richelieu) สำเร็จราชการแทน คาร์ดินัลริเชอลิเออทำลายล้างอำนาจของพวกอูเกอโนต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าอองรีที่ 4 ในค.ศ. 1624 เกิดสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ ฝ่ายสวีเดนเข้าช่วยฝ่ายโปรเตสแตนต์แต่ไม่เป็นผล คาร์ดินัลริเชอลิเออจึงให้ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบฝ่ายโปรเตสแตนต์ ทั้งๆที่ฝรั่งเศสและตัวคาร์ดินัลเองเป็นคาทอลิก เพราะต้องการล้มอำนาจของสเปน ทัพฝรั่งเศสชนะสเปนที่โรครัว (ค.ศ. 1643) และเลนส์ (ค.ศ. 1648) ในค.ศ. 1643 คาร์ดินัลริเชอลิเออสิ้นชีวิต เกิดกบฏฟรองด์ ที่ต่อต้านอำนาจของกษัตริย์และที่ปรึกษา มีสเปนหนุนหลัง แต่ฝรั่งเศสก็สามารถปราบปรามได้ จนทำสนธิสัญญาพีรีนีส ในค.ศ. 1659 ยึดแคว้นรูซิยอง (Roussillon) จากสเปนพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1643 - ค.ศ. 1715)[แก้]ดูบทความหลักที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสในค.ศ. 1660 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงอภิเษกกับองค์หญิงมาเรีย เธเรซา พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน ซึ่งพระเจ้าฟิลิปก็ป้องกันการอ้างสิทธิของฝรั่งเศสโดยการให้องค์หญิงมาเรียเธเรซาสละสิทธิ์ในดินแดนของสเปนทุกส่วน โดยมีสินสอด (ฝ่ายหญิงให้ฝ่ายชาย) จำนวนมหาศาลเป็นค่าตอบแทน ในค.ศ. 1661 พระเจ้าหลุยส์ทรงแต่งตั้งให้ชอง-บาพ์ติสต์ โกลแบร์ต(Jean-Baptiste Colbert) เป็นเสนาบดีคลัง โกลแบร์ตสามารกอบกู้สถานะทางการเงินของฝรั่งเศสที่ใกล้จะล้มละลาย โดยการเก็บภาษีแบบใหม่ ทำให้เงินในพระคลังเพิ่มเป็นสามเท่า เป็นที่มาของความฟุ่มเฟือยในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่แวร์ซายในค.ศ. 1665 พระเจ้าฟิลิปที่ 4 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสเปนขึ้นครองราชย์แทน แต่พระเจ้าหลุยส์ทรงอ้างว่า กฎเก่าแก่ของอาณาจักรดยุคแห่งบราบองต์(แคว้นหนึ่งในประเทศภาคต่ำ) ว่าแคว้นนี้ต้องตกเป็นของบุตรธิดาของภรรยาคนล่าสุด ไม่ใช่คนแรกสุด ก็คือราชินีมาเรียเธเรซานั่นเอง ดังนั้นพระเจ้าหลุยส์จึงทวงแคว้นนี้คืนแก่พระราชินี เมื่อสเปนไม่ยอมจึงทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศส (War of Devolution) และขณะนั้นเนเธอร์แลนด์กำลังทำสงครามกับอังกฤษ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาชั่วคราว พระเจ้าหลุยส์ทรงยึดฟลานเดอร์ส (Flanders) และฟรอง-กองเต (Franche-Comté) จากสเปนได้ ทำให้อังกฤษหันไปเข้าข้างเนเธอร์แลนด์เพื่อต้านฝรั่งเศส จนทำสนธิสัญญาเอกซ์-ลา-ชาเปลล์ ในค.ศ. 1668 คืนฟรอง-กองเตไปก่อนในค.ศ. 1672 พระเจ้าหลุยส์ทรงหลอกล่อให้พระเจ้าชาร์ลส์แห่งสเปนเข้าเป็นพันธมิตรได้ และประกาศสงครามกับเนเธอร์แลนด์ เป็นสงครามฝรั่งเศส-ฮอลันดา มีอังกฤษเข้าช่วยฝรั่งเศส แต่ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ก็ทำสัญญาพันธมิตรกับสเปนได้แทนฝรั่งเศส รวมทั้งจักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ ฝ่ายอังกฤษสงบศึกกับเนเธอร์แลนด์ในค.ศ. 1647 ทิ้งฝรั่งเศสให้โดดเดี่ยว แต่ทัพฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะทัพผสมของหลายชาติได้ บุกยึดฟรอง-กองเต ทะลุทลวงไปถึงเนเธอร์แลนด์ จนทำสนธิสัญญาไนมีเกน (Nijmegen) ยกฟรอง-กองเตให้ฝรั่งเศส ในค.ศ. 1678ด้วยความกำกวมของสนธิสัญญาต่างๆของยุโรปในสมัยนั้น พระเจ้าหลุยส์จึงทรงอ้างว่าดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของแคว้นที่ฝรั่งเศสยึดมานั้น ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทรงตั้งหอรวบรวมดินแดน (Chamber of Reunion) เพื่อใช้วิธีทางกฎหมายเรียกดินแดนต่างๆให้กับฝรั่งเศส ที่จริงแล้วพระเจ้าหลุยส์ทรงต้องการดินแดนเหล่านั้น เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น เมืองสตราสบูร์ก และลักเซมเบิร์กพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สุริยราชันทศวรรษที่ 1680 เป็นสมัยเรืองอำนาจของฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ วัฒนธรรมฝรั่งเศสต่างๆกลายเป็นแฟชั่นของยุโรป เอาอย่างความหรูหราที่พระราชวังแวร์ซาย ในค.ศ. 1682 ลา ซาล (La Salle) นักสำรวจตั้งชื่อดินแดนลุยเซียนา (Louisiana) ในอเมริกาตามพระนามพระเจ้าหลุยส์ และปีเดียวกันพระเจ้าหลุยส์ทรงประกาศนิกายกัลลิกัน (Gallicanism) จำกัดอำนาจพระสันตปาปาในฝรั่งเศส และให้พระเจ้าหลุยส์ทรงปกครององค์การศาสนาด้วยพระองค์เอง ในค.ศ. 1685 ทรงประกาศกฤษฎีกาฟองแตงโบล ยกเลิกกฤษฎีกาแห่งเมืองนังทส์ของพระอัยกาพระเจ้าอองรีที่ 4 เป็นการเลิกเสรีภาพทุกประการของพวกโปรเตสแตนต์ อูเกอโนต์จึงหนีไปอาณานิคมหรืออังกฤษกันหมดในค.ศ. 1686 จักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์และเจ้าเมืองเยอรมันต่างๆเล็งเห็นถึงการขยายอำนาจของฝรั่งเศส จึงตั้งสันนิบาตออกซ์บูร์ก (League of Augsburg) ค.ศ. 1688 พระเจ้าหลุยส์มีรับสั่งให้ยกทัพบุกเยอรมนีเพื่อทวงแคว้นพาลาติเนตคืนให้พระเจ้าน้องเขย แต่ปีเดียวกันวิลเฮม เจ้าชายแห่งออเรนจ์ (Prince of Orange) ผู้ครองเนเธอร์แลนด์ ยึดอำนาจในอังกฤษปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ทำให้อังกฤษเข้าร่วมสันนิบาตออกซ์บูร์ก กลายเป็นมหาสัมพันธมิตร (Grand Alliance) เกิดสงครามมหาสัมพันธมิตร (War of the Grand Alliance) พระเจ้าหลุยส์ทรงพยายามจะส่งพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษคืนบัลลังก์ แต่ก็ถูกทัพของพระเจ้าวิลเลียมทำลายทางทะเล แต่บนบกฝรั่งเศสยึดเนเธอร์แลนด์ได้หลายเมือง และทางสเปนก็ต้านไว้ได้ จนทำสนธิสัญญาไรสวิก (Ryswick) ฝรั่งเศสคืนดินแดนทั้งหมดที่ยึดมายกเว้นเมืองสตราสบูร์กดูบทความหลักที่ สงครามสืบราชสมบัติสเปนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสเปนทรงไม่มีทายาท พระเจ้าหลุยส์จึงเสนอดยุคแห่งอังชู พระนัดดา เป็นกษัตริย์สเปนองค์ต่อไป แต่ฝ่ายจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์เสนออาร์คดยุดชาร์ลส์แห่งออสเตรียมาแข่ง แต่ค.ศ. 1700 พระเจ้าชาร์สส์ก่อนสิ้นพระชนม์ยกสเปนรวมทั้งอาณานิคมทั้งหมดให้ดยุคแห่งอังชู เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปน ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงในสเปน สร้างความไม่พอใจทั่วยุโรป อีกทั้งพระเจ้าหลุยส์ยังทรงสนับสนุนเจมส์ สจ๊วด ผู้ทวงบัลลังก์อังกฤษของพระเจ้าวิลเลียม ทำให้อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และจักรวรรดิโรมันฯ ตั้งมหาสัมพันธมิตรอีกครั้ง เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนฝรั่งเศสส่งทัพบุกออสเตรียทางอิตาลี แต่ถูกต้านไว้ เป็นครั้งแรกที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ ต่อมาฝรั่งเศสก็พ่ายแพ้ทุกทาง จนต้องกลับกลายเป็นฝ่ายตั้งรับในค.ศ. 1709 แต่ในสเปน ทัพพระเจ้าฟิลิปที่ 5 และทัพฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะต่างชาติได้หมด และฝรั่งเศสก็กลับมาเป็นฝ่ายบุกอีกในค.ศ. 1712 ในค.ศ. 1705 จักรพรรดิโจเซฟ พระเชษฐาของอาร์คดยุคชาร์ลส์สิ้นพระชนม์ ทำให้อาร์คดยุคชาร์ลส์ต้องขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันฯ ทำให้ชาติต่างๆในยุโรป เสิกสนับสนุนจักรพรรดิชาร์ลส์ เพราะเกรงจะมีกำลังมากเกินไป ทำให้ฝ่ายอังกฤษเจรจาสงบศึกพระเจ้าหลุยส์ในค.ศ. 1713เป็นสนธิสัญญาอูเทรกช์ท (Utrecht) และในค.ศ. 1714 กับจักรวรรดิโรมันฯในสนธิสัญญาราสตัตต์ และบาเดน ยอมรับราชวงศ์บูร์บงให้ปกครองสเปน ทำให้สเปนกลายเป็นพันธมิตรสำคัญของฝรั่งเศสต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1715 ก่อนวันคล้ายวันประสูติพระชนม์มายุ 77 พรรษาไม่กี่วัน ทรงครองราชย์ 72 ปี ยาวนานกว่ากษัตริย์ยุโรปอื่นใด พระองค์พระชนมายุยาวนานมาก จนพระโอรสและนัดดาสิ้นพระชนม์ไปก่อนหมด เหลือเพียงดยุคแห่งอังชูที่ยังพระเยาว์ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (ค.ศ. 1715 ถึง ค.ศ. 1774)[แก้]พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ยังทรงพระเยาว์จนต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนหลายคน เริ่มที่ดยุคแห่งออร์เลียงส์ เข้าร่วมสงครามจตุรมิตร (War of the Quadraple Alliance - ประกอบด้วยฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ - ไม่เกี่ยวกับสี่โรงเรียน)เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปนและราชินีอลิซาเบธ ฟาร์เนสที่ทะเยอทะยาน ต้องการกอบกู้ดินแดนในอิตาลีและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำที่เสียไปในสงครามสืบราชสมบัติสเปน ผลคือความพ่ายแพ้ของสเปน ต่อมาคาร์ดินัล เฟลอรี (Cardinal Fleury) ทำสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ สตานิสลาส เลสเซนสกี ต้องการเป็นพระมหากษัตริย์โปแลนด์ แต่จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อต้าน ฝรั่งเศสเห็นโอกาสที่จะทำลายอำนาจออสเตรีย จึงทำสงคราม แต่สนธิสัญญาเวียนนาใน ค.ศ. 1735 เลสเซนสกีได้เป็นดยุคแห่งลอร์เรน ซึ่งเมื่อเลสเซนสกีเสียชีวิตใน ค.ศ. 1766 แคว้นลอร์เรนจึงตกเป้นของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสมีอาณาเขตถึงปัจจุบันด้วยความทะเยอทะยานของพระเจ้าฟรีดริชมหาราชแห่งปรัสเซีย ที่ต้องการจะยึดบัลลังก์จากจักรพรรดินีมาเรีย เธเรซา ด้วยเหตุที่พระนางเป็นสตรี ทำให้ยุโรปเกิดสงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย ฝรั่งเศสจึงหวังจะได้ชิงบัลลังก์ออสเตรียบ้าง แต่ปรัสเซียก็เริ่มจะมีอำนาจมากไป จึงเกิดการปฏิวัติทางการทูต ฝรั่งเศสหันไปหาออสเตรียศัตรูเก่าแก่ เพื่อต้านปรัสเซียและบริเตน ผลคือสงครามเจ็ดปี การสู้รบมีในอาณานิคมด้วย ซึ่งฝรั่งเศสผูกมิตรกับชาวพื้นเมือง เพื่อช่วยรบกับบริเทน แต่พ่ายแพ้ยับเยิน จนสนธิสัญญาปารีส ค.ศ. 1763 ฝรั่งเศสเสียอาณานิคมในอเมริกาทั้งหมดให้บริเตนในศตวรรษที่ 18 ในยุโรปเป็นยุคภูมิธรรม (Age of Enlightenment) เป็นสมัยปรัชญาแนวคิดแบบใหม่ที่แปลกแยกออกจากธรรมเนียมเก่า ๆ เฟื่องฟู ฝรั่งเศสก็มีนักปราชญ์ที่สำคัญสามคนแห่งยุค คือ ฌ็อง-ฌัก รูโซ,มงแต็สกีเยอ และวอลแตร์ ที่เสนอคติแนวความคิดการปกครองแบบใหม่ ใน ค.ศ. 1751 มีการพิมพ์หนังสือ Encyclopédie เป็นหนังสือรวบรวมความรู้วิทยาการทุกแขนงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ค.ศ. 1774 - ค.ศ. 1793)[แก้]พระนางมารี อังตัวเนต องค์หญิงชาร์ลอต องค์ชายหลุยส์-โจเซฟ และองค์ชายหลุยส์-ชาร์ลส์ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 17)ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักและสงครามที่พ่ายแพ้ทำให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสตกต่ำลง พระคลังเป็นหนี้ทั่วยุโรป พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้ที่มีความสามารถเพื่อกอบกู้สถานการณ์ เช่น ตูร์โกต์ ซึ่งพยายามจะเก็บภาษีแบบใหม่ๆ แต่ประชาชนถูกเก็บภาษีหลายประเภทแล้ว เลยพากันฐานะยากจนกันไปหมด จึงเก็บภาษีจากสินค้าต่างๆแทน แต่บรรดาขุนนางอ้างว่ากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจที่จะตั้งภาษีใหม่ แต่เป็นสภาฐานันดร (Estates-General) ต่างหาก พระเจ้าหลุยส์ทรงเห้นว่าตูร์โกต์ใช้ไม่ได้ แลยตั้งเนคแกร์ขึ้นมาแทนในค.ศ. 1776 พอดีกับอาณานิคมของบริเทนในอเมริกาประกาศเอกราชในสงครามปฏิวัติอเมริกา เนคแกร์ให้สนับสนุนฝ่ายอเมริกาโดยส่งมาร์ควิสแห่งลาฟาแยตไปช่วย จนฝ่ายอเมริกามาประกาศเอกราชที่ปารีสในค.ศ. 1783ในค.ศ. 1783 พระเจ้าหลุยส์ทรงแต่งตั้งกาโลนน์ กาโลนน์ใช้วิถีการแก้ปัญหาโดยการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อสร้างเครดิต กาโลนน์ขอให้สภาขุนนางค.ศ. 1787 ผ่านร่างวิธีแก้ปัญหาแบบฟุ่มเฟือยนี้ แต่บรรดาขุนนางพอได้ยินจำนวนหนี้ของอาณาจักรก็พากันตกใจและยับยั้งร่างทันที พระเจ้าหลุยส์จึงทรงตั้งเดอเบรียง เดอเบรียงใช้กำลังบังคับให้พวกขุนนางผ่านร่างแก้ปัญหาของเขา จนบ้านเมืองแทบจะเกิดจลาจล เพราะเดอเบรียงใช้อำนาจบาตรใหญ่ ในค.ศ. 1789 เดอเบรียงจึงถูกปลดและพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคแกร์กลับมาแก้ปัญหาอีกครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1804)[แก้]ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร เพื่อแก้ปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ หลังจากที่ไม่ได้ประชุมมาประมาณสองร้อยปีแล้ว สภาฐานันดร คือ สภาของสามชนชั้น (ขุนนาง บาทหลวง และสามัญชน) ปัญหาคือแต่ละฐานันดรออกเสียงได้หนึ่งเสียง เกิดความไม่เท่าเทียม เพราะฐานันดรที่ 3 (สามัญชน) คือคนทั้งประเทศ ถูกพวกขุนนางกับบาทหลวงออกเสียงชนะหมด ทำให้สามัญชนไม่อาจแสดงความต้องการและปัญหาของตนได้ จนพระเจ้าหลุยส์ทรงให้ฐานันดรที่ 3 มีเสียงเป็นสองเท่าของสองฐานันดรแรก แต่พอถึงเวลาจริงพระเจ้าหลุยส์ตรัสให้สภาออกเสียง "ตามพระราชโองการ" ฐานันดรที่ 3 จึงแยกตัวออกไปเป็น "สมัชชาแห่งชาติ" (National Assembly)สมัชชาแห่งชาติ (ค.ศ. 1789 - ค.ศ. 1791)[แก้]คำสาบานสนามเทนนิสพระเจ้าหลุยส์มีพระราชโองการให้ปิดสถานที่ประชุมของฐานันดรที่ 3 ทำให้บรรดาสมาชิกสภาเปียกฝนกันอยู่ด้านนอก จึงให้คำปฏิญาณสนามเทนนิส (Tennis Court Oath) ว่าพวกตนจะไม่สลายตัวจนกว่าจะได้ระบอบปกครองใหม่ ในที่สุดพระเจ้าหลุยส์ก็ทรงยอมรับสมัชชาแห่งชาติ สมัชชาแห่งชาติจึงเปลี่ยนเป็น สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ (National Constituent Assembly) แต่ทัพฝรั่งเศสและทหารรับจ้างเยอรมันตามชายแดนเริ่มคืบเข้ามาประชิดกรุงปารีส และพระเจ้าหลุยส์ทรงปลดฌักส์ เน็กแกร์ ที่ผ่อนปรนพวกฐานันดรที่ 3 ออกจากตำแหน่ง ทำให้ประชาชนชาวเมืองปารีสลุกฮือ บุกไปเอาดินปืนที่คุกบาสตีย์ เพื่อเอาไปยิงทัพที่มาบุกปารีส แต่ผู้คุมไม่ยอม จึงเกิดการปะทะ กลุ่มผู้ประท้วงที่โกรธแค้นสังหารตัดคอผู้คุมและแห่ศีรษะไปตามถนน และสังหารนายกเทศมนตรีปารีสเหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าหลุยส์ต้องทรงยอมรับธงไตรรงค์เป็นธงฝรั่งเศส แทนธงของราชวงศ์บูร์บงเดิม พวกขุนนางและพระราชวงศ์หลบหนีออกนอกฝรั่งเศส เรียกว่า พวกเอมิเกร (émigre)ในสมัชชาก็แบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายขวาอนุรักษนิยม รักษาระบอบเก่า กับฝ่ายซ้ายหัวปฏิวัติ นักปฏิวัติที่ได้รับการเคารพนับถือที่สุด คือมิราโบ ซึ่งเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายอย่าง แต่ถูกผู้นำปฏิวัติอื่น ๆ คัดค้าน ในค.ศ. 1790 สมัชชาแห่งชาติประกาศ "คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง" (Declaration of the Rights of Man and Citizen) ประกาศเสรีภาพในทุกเรื่อง ล้มเลิกระบอบขุนนาง แต่พระเจ้าหลุยส์ก็ยังทรงพยายาม เรียกทัพจากชายแดนมาปราบกบฏ และจัดงานเลี้ยงเหยียบย่ำธงไตรรงค์ที่แวร์ซาย ทำให้กรุงปารีสจลาจลและทหารปฏิวัติ (National Guard) มาบุกพระราชวังแวร์ซาย ขับพระราชวงศ์ออกไป พระเจ้าหลุยส์และพระราชวงศ์จึงหนีไปประทับที่พระราชวังตุยเลอรีส์แทนนโยบายที่รุนแรงที่สุดของสมัชชาแห่งชาติคือการทำบรรพชิตให้เป็นพลเมือง (Civil Constitution of Clergy) บาทหลวงจึงไม่ต่างกับสามัญชน เท่ากับไม่ยอมรับศาสนา บาทหลวงจำนวนมากที่ไม่ยอมจำนนต่อสมัชชาแห่งชาติ พากันหนีไปหลบซ่อนตัวตามที่ต่างๆ เสรีภาพทำให้เกิดแนวความคิดและสมาคมทางการเมืองขึ้นมามากมาย ที่โด่งดังที่สุดก็คือสมาคมฌากอแบ็ง (Jacobin)ใน ค.ศ. 1791 พระเจ้าหลุยส์และพระราชวงศ์ทรงพยายามจะหลบหนีออกนอกประเทศ แต่ด้วยขบวนเสด็จที่แม้จะรีบร้อนแต่ก็หรูหรา ทำให้ทรงถูกจับได้ง่าย ๆ ที่วาเรนส์ ทำให้ประชาชนเกรงว่าพระเจ้าหลุยส์จะยึดอำนาจคืน จึงเรียกร้องให้ล้มระบอบกษัตริย์ที่ทุ่งชองป์-เดอ-มาส์ แต่ถูกทหารปฏิวัติสังหารอย่างโหดร้าย จักรพรรดิเลโอโปล์ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเชษฐาของพระนางมารีอังตัวเนต จึงทรงขอความสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ กู้อำนาจคืนให้พระเจ้าหลุยส์ ในที่สุดรัฐธรรมนูญปีค.ศ. 1791 ก็เสร็จสิ้น สมัชชาแห่งชาติสิ้นสุด กลายเป็นสภานิติบัญญัติ (Legislative Assembly) ฝรั่งเศสจึงกลายเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสภานิติบัญญัติ (ค.ศ. 1791 ถึง ค.ศ. 1792)[แก้]สมาคมฌากอแบ็ง แบ่งเป็นสองฝ่าย คือ สมาคมเฟยยองต์ (Feuillant) สนับสนุนระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และสมาคมฌีรงแด็ง (Girondin) หัวขวาจัด ฝรั่งเศสประกาศกฎอัยการศึกใน ค.ศ. 1792 แม้จะมีผู้คัดค้านสงครามอยู่มาก สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระโอรสจักรพรรดิเลโอโปล์ด ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในค.ศ. 1792 ฝรั่งเศสส่งมาร์ควิสแห่งลาฟาแยตบุกเนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย แต่ปรัสเซียส่งดยุคแห่งบรุนชวิกมาบุกปารีส ประกาศคำประกาศบรุนชวิก (Brunswick Manifesto) ถ้าไม่เลิกปฏิวัติจะถล่มฝรั่งเศสให้ราบคาบ ต่างชาติบุกทำให้ชาวฝรั่งเศสคิดว่าพระเจ้าหลุยส์ทรงอยู่เบื้องหลัง สมาคมเฟยยองต์ถูกปิด ทำให้ประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีส์ จับพระเจ้าหลุยส์และพระราชวงศ์เข้าคุก ซึ่งตอนนี้เต็มไปด้วยนักโทษการเมืองดยุคแห่งบรุนชวิกจึงบุกฝรั่งเศส ทำให้ชาวฝรั่งเศสยิ่งโมโห จับนักโทษในคุกออกมาสังหารโหดหลายพันคน เรียกว่า การสังหารหมู่เดือนกันยายน (September Massacre) ในแคว้นวังเด (Vendée) ฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ก่อกบฏ การปกครองฝรั่งเศสจึงล่มสลาย บรรดาผู้นำปฏิวัติหัวรุนแรงที่เหลือรอด (พวกสายกลางถูกกำจัดไปหมด) ตั้งสภากองวังเชียง (National Convention)สภากงวองซิยง (ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1794)[แก้]ดูเพิ่มที่ สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว และ สภากงวองซิยงแห่งชาติสำเร็จโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16ใน ค.ศ. 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกสำเร็จโทษโดยการบั่นพระศอด้วยเครื่องกิโยติน ทั้งยุโรปจึงเห็นถึงความระห่ำของฝรั่งเศส ตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่ 1 (First Coalition) ฝรั่งเศสชนะกองทัพต่างชาติที่วาลมี และยึดเมืองนีซ และแคว้นซาวอย ใน ค.ศ. 1792 และโมนาโค ในค.ศ. 1793 พวกฌีรงแด็งหัวรุนรุนแรง เรียกว่า พวกมงตาญาร์ (Montagnard) หรือพวกฌากอแบ็ง เช่น รอแบ็สปีแยร์ (Robespierre) ดังตอง (Danton) มีอำนาจเพราะสงครามทำให้ประเทศต้องการการปกครองที่เด็ดขาด พวกฌากอแบ็งนำทัพบุกสภากองวังเชียง ทำให้พวกฌีรงแด็งหัวอ่อนถูกกวาดล้าง หลบหนีไปซ่อนตามป่าเขา แคว้นวังเดลุกฮือมากขึ้น ฝ่ายปฏิวัตินำทหารเข้าปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เวิงดีพินาศย่อยยับ กลายเป็นแคว้นร้าง ทางการประกาศเกณฑ์ประชาชนทุกคนชายหญิงเด็กชราให้มาทำงานในกองทัพรอแบ็สปีแยร์ประกาศความน่าสะพรึงกลัว (Terror) เพื่อสร้างความโหดเหี้ยมให้ฝรั่งเศส และประกาศ Law of Suspects นักโทษการเมืองไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และตั้งศาลปฏิวัติ (Revolutionary Tribunal) ซึ่งทุกคนที่ขึ้นศาลนี้จบลงที่กิโยตินทุกคน ทั้งพระนางมารี อังตัวเนต พระราชวงศ์ พวกเฟยยองต์ พวกฌีรงแด็ง กษัตริย์นิยม และประชาชน ต่างต้องสังเวยเครื่องกิโยติน รอแบ็สปีแยร์ยังให้เลิกนับถือคริสต์ศาสนา เลิกใช้คริสต์ศักราช แต่ใช้ศักราชปฏิวัติ นับปี ค.ศ. 1793 เป็นปีที่ 1 และมีการตั้งศาสนาใหม่ คือ ลัทธิแห่งเหตุผล (Cult to Reason) นับถือเทพธิดาชื่อเหตุผลแต่ฝรั่งเศสก็สามารถขับไล่ทัพของชาติต่าง ๆ ที่มารุกรานฝรั่งเศสได้ ตอนนี้พวกฌากอแบ็งโค่นอำนาจกันเอง ดังตองถูกกิโยติน ในค.ศ. 1794 เหลือรอแบ็สปีแยร์ผู้เดียว ทรงอำนาจสูงสุด ประกาศ Cult of Supreme Being เป็นศาสนาใหม่อีกศาสนา และประกาศกฎมหามิคสัญญี (Law of the Great Terror) มิให้นักโทษการเมืองแต่งพยานสู้คดี ผู้คนหลายพันในกรุงปารีสถูกกิโยติน แต่รอแบ็สปีแยร์ก็ถูกโค่นอำนาจโดยผู้นำปฏิวัติอื่น ๆ เพราะกลัวจะถูกกิโยติน เรียกว่า ปฏิกิริยาเดือนแตร์มิดอร์ (Thermidorien Reaction)คณะดิเร็กตัวร์ (ค.ศ. 1795 - ค.ศ. 1799)[แก้]พวกแตร์มิดอร์ขึ้นมามีอำนาจ ดำเนินนโยบายกลับกับมิคสัญญี ผ่อนคลายความน่าสะพรึงกลัว ทัพฝรั่งเศสยึดเนเธอร์แลนด์ได้ใน ค.ศ. 1795 รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 3 (ค.ศ. 1795) ตั้งคณะดิเร็กตัวร์ (Directory) เป็นระบอบการปกครองใหม่ ประกอบดัวยดิเร็กเตอร์ 5 คน ซึ่งจะถูกเลือกตั้งทิ้งไป 1 ตำแหน่งทุกปี ทำหน้าที่บริหาร มีสภาอาวุโส (Council of Ancients) และสภาห้าร้อย (Council of Five Hundreds) เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บรรดาผู้นำสภากองวังเชียงเดิมเกรงว่าพวกตนจะถูกรุมประชาทัณฑ์เสียชีวิตจึงพยายามจะเข้ามามีอำนาจในระบอบปกครองใหม่ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ และฝ่ายกษัตริย์นิยม ก่อจลาจลในปารีส นโปเลียนยิงปืนใหญ่ขู่ทีเดียว (Whiff of Grapeshot) จลาจลก็สลายตัว เป็นผลงานแรกของนโปเลียนนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) เป็นชาวเกาะคอร์ซิกา มาเป็นทหารในฝรั่งเศส แต่งงานกับโจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ (Josephine de Beauharnais) แม่หม้ายลูกติดสอง นโปเลียนนำทัพเข้าบุกอิตาลีเพื่อต้านทานทัพที่จะมาบุกทางอิตาลี จนยึดคาบสมุทรอิตาลีได้ ตั้งรัฐบริวารมากมาย เช่น สาธารณรัฐซิสอัลไพน์ (Cisalpine) สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐพาร์เธโนเปีย (Parthenopian Republic) จนในค.ศ. 1797ออสเตรียทำสนธิสัญญาคัมโป-ฟอร์มิโอ (Campo-Formio) ยอมยกเบลเยียมและอิตาลีให้ฝรั่งเศสฝ่ายคณะดิเร็กตัวร์เห็นว่านโปเลียนกำลังเป็นวีรบุรุษและมีอำนาจ จึงส่งไปบุกอียิปต์ คณะดิเร็กตัวร์ต้องการรักษาอำนาจ จึงปลุกปั่นบ้านเมืองให้วุ่นวาย และยึดอำนาจกันเอง การบุกอียิปต์ของนโปเลียนทำให้ชาติต่าง ๆ ในยุโรปรวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 2 (Second Coalition) จนนโปเลียนฝ่าวงล้อมของบริเตนออกมาจากอียิปต์ได้ใน ค.ศ. 1799 กลับมาฝรั่งเศส ยึดอำนาจจากคณะไดเร็กตัวร์ เรียกว่า รัฐประหาร 18 ฟรุกติดอร์ (18 Fructidor)คณะกงสุล (ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1804)[แก้]รัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 8 (ค.ศ. 1799) ตั้งคณะกงสุล (Consulate) ประกอบด้วยกงสุล 3 คน หนึ่งในนั้นคือตัวนโปเลียนเอง ปกครองฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1800 นโปเลียนวิ่งเต้นให้ตนเองเป็นกงสุลใหญ่ (First Consul) นโปเลียนชนะออสเตรียที่อิตาลีอีก จนทำสนธิสัญญาลูเนวิลล์ (Luneville) ยกเยอรมนีส่วนทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์ทั้งหมดให้ฝรั่งเศส นโปเลียนให้ฝรั่งเศสกลับมานับถือคริสต์ศาสนาอีกครั้งใน ค.ศ. 1801 โดยเจรจากับพระสันตปาปา มอบอำนาจการปกครองศาสนาในฝรั่งเศสให้นโปเลียน ใน ค.ศ. 1802 บริเตนทำสนธิสัญญาอาเมียง (Amiens) ยอมคืนอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ที่ยึดไปให้ฝรั่งเศส นโปเลียนวิ่งเต้นผลเลือกตั้งอีกครั้ง ให้ตนเองเป็นกงสุลใหญ่ตลอดชีพ (First Consul for Life)จักรวรรดิที่ 1 (ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1815)[แก้]ดูบทความหลักที่ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ นโปเลียนพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1804 นโปเลียนปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิ เริ่มจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 (First Empire) พระเจ้านโปเลียนทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "กองทัพใหญ่" (Grand Armée) ในค.ศ. 1805 การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆรวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 (Third Coaltion) พระเจ้านโปเลียนทรงนำทัพบุกเยอรมนี ชนะทัพออสเตรียที่อุล์ม (Ulm) แต่ทางทะเลพ่ายแพ้อังกฤษที่แหลมทราฟัลการ์ (Trafalgar) ชัยชนะที่อุล์มทำให้พระเจ้านโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย ชนะออสเตรียและรัสเซียที่เอาสเทอร์ลิทซ์ (Austerlitz) เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนโปเลียน สัมพันธมิตรครั้งที่ 3 จึงสลายตัวด้วยสนธิสัญญาเพรสบูร์ก (Pressburg) จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้งสมาพันธรัฐแห่งไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ พระจักรพรรดิเปลี่ยนตำแหน่งเป็นจักรพรรดิออสเตรียความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมันทำให้ปรัสเซียร่วมกับบริเทนและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่ 4 (Fourth Coalition) แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมาบให้การสนับสนุน นโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซีย ชนะที่เยนา-เออร์ชเตดท์ (Jena-Auerstedt)และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ (Friedland) จนทำสนธิสัญญาทิลซิท (Tilsit) ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีแห่งวอร์ซอว์ (Grand Duchy of Warsaw) และพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดบริเตนทางการค้าจากผืนทวีปยุโรปจักรวรรดิฝรั่งเศส แผ่ขยายอาณาเขตสูงสุด ค.ศ. 1811 สีทึบคือฝรั่งเศสปกครองโดยตรง สีจางคือรัฐบริวารแต่สองประเทศ คือ สวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป นโปเลียนนทัพบุกโปรตุเกสใน ค.ศ. 1807 แต่ก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งสเปน ราชวงศ์บูร์บง มาให้พระอนุชาคือโจเซฟ โบนาปาร์ต (Joseph Bonaparte) เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร (Peninsula War) ต่อต้านนโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร (Guerilla Warfare) บริเตนส่งดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 5 (Fifth Coalition) พระเจ้านโปเลียนทรงนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง (Aspern-Essling) และวากราม (Wagram) จนทำสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Schönbrunn) ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้ฝรั่งเศส และนโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี-หลุยส์ (Archduchess Marie-Louis)พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ทรงทำสงครามกับนโปเลียนอีกครั้ง ในค.ศ. 1812 พระเจ้านโปเลียนทรงนำทัพบุกรัสเซียกลางฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ รัสเซียหลอกล่อให้ทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย แม้จะไปถึงมอสโกแต่ทั้งเมืองก็ถูกเผาอย่างจงใจเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือนโปเลียน ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่าง ๆ ให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 6 (Sixth Coalition) เอาชนะนโปเลียนในยุทธการไลพ์ซิก (Leipzig) ทำให้นโปเลียนถอยกลับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1813 จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสทรงสละบัลลังก์ เพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในค.ศ. 1814 สัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตนโบล (Fontainebleau) เนรเทศพระเจ้านโปเลียนไปเกาะเอลบา (Elba) ในอิตาลี สิ้นสุดจักรวรรดิที่ 1ยุคราชวงศ์ฟื้นฟู (ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1830)[แก้]ดูบทความหลักที่ การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง และ การปฏิวัติเดือนกรกฎาคมเกาะเล็กๆไม่อาจขวางกั้นนโปเลียนได้ ขณะที่ยุโรปกำลังหารือคองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) เพื่อนำยุโรปสู่สภาพเดิมก่อนปฏิวัติฝรั่งเศส แต่นโปเลียนก็กลับมายึดอำนาจฝรั่งเศสอีกครั้งในค.ศ. 1815และอยู่ได้ร้อยวัน (The Hundred Days) จนชาติต่างๆ ในสัมพันธมิตรครั้งที่ 7 (Seventh Coalition) เอาชนะนโปเลียนในยุทธการวอเตอร์ลู ทำให้นโปเลียนถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา (Saint Helena) ของบริเตนกลางมหาสมุทรแอตแลนติก จนเสียชีวิตในค.ศ. 1821ภายใต้ข้อตกลงของคองเกรสแห่งเวียนนา ราชวงศ์บูร์บงกลับมาครองฝรั่งเศสอีกครั้ง เคานท์แห่งโปรวองซ์ (Comte de Provence) พระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กลับเข้าฝรั่งเศสมาครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 การปกครองใหม่ของฝรั่งเศสเป็นแบบสองสภา คือ สภาขุนนาง (Chamber of Peers) และสภาผู้แทน (Chamber of Deputies) เกิดฝ่ายนิยมกษัตริย์หัวรุนแรง (Ultra-royalist) ซึ่งได้ชื่อว่านิยมกษัตริย์มากกว่าองค์กษัตริย์เสียเอง กวาดล้างขบวนการปฏิวัติและพวกนโปเลียนเดิม เรียกว่า มิคสัญญีขาว (White Terror) ทำให้ประชาชนหวาดกลัว การเลือกตั้งค.ศ. 1815 พวกนิยมกษัตริย์จึงได้รับการเลือกตั้งท่วมท้น เรียกว่า chambre introuvable แปลว่า สภาที่ทำงานด้วยไม่ได้ พระเจ้าหลุยส์ทรงยุบสภานี้เสีย เพราะทรงตระหนักว่าพวกนี้หัวรุนแรงเกินไป และเลือกตั้งใหม่ จึงได้พวกเสรีนิยมมากขึ้นในค.ศ. 1818 บรรดาชาติที่ชนะสงครามนโปเลียนประชุมคองเกรสแห่งเอกซ์-ลา-ชาเปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ตกลงถอนทหารจากฝรั่งเศส ในค.ศ. 1824 เคานท์แห่งอาร์ตัวส์ (Comte d'Artois) ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงหัวเอียงไปทางพวก ultra-royalist ในค.ศ. 1825 ทรงออกพระราชบัญญัติห้ามทำลายรูปเคารพ (Sacrilege Act) เพื่อป้องกันไม่ให้โบสถ์ต่างถูกโจมตีเหมือนสมัยปฏิวัติใน ค.ศ. 1829 มีเจ้าชายแห่งปอลีญัก (Prince de Polignac) เป็นประธานสภา (President of the Council - นายกรัฐมนตรี) ทั้งพระเจ้าชาร์ลส์และปอลีญักดำเนินนโยบายอนุรักษนิยมฟื้นฟูระบอบกษัตริย์เสรีภาพนำประชาชน โดยเออแฌน เดอลาครัวซ์ (Eugéne Delacroix) แสดงการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม สตรีแสดงถึงเสรีภาพในค.ศ. 1830 ปอลีญักนำฝรั่งเศสบุกยึดแอลจีเรีย เป็นอาณานิคมแรกของฝรั่งเศสในแอฟริกา และโปลิญักออกกฤษฎีกาเดือนกรกฎาคม (July Ordinances) ยกเลิกสภาผู้แทน จำกัดสิทธิการเลือกตั้งเหลือแต่คนร่ำรวย และจำกัดเสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์ ทำให้เกิด การปฏิวัติเดือนกรกฎาคม (July Revolution) พระเจ้าชาร์ลส์ทรงสละราชบัลลังก์ให้พระนัดดา คือ ดยุกแห่งบอร์โดซ์ (Duc de Bordeaux) แต่คณะปฏิวัติกลับยกบัลลังก์ให้หลุยส์-ฟิลิป แห่งราชวงศ์บูร์บงสายออร์เลอองส์ เป็นพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปทำให้ฝ่ายนิยมกษัตริย์แบ่งเป็นสองพวก คือ พวกเลฌิติมิสต์ (Legitimist) หรือกลุ่มราชวงศ์บูร์บงสายสิทธิชอบธรรม สนับสนุนราชวงศ์บูร์บงเดิม และพวกออร์เลอองนิสต์ (Orléanist) สนับสนุนราชวงศ์บูร์บงสาขาออร์เลอองส์ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม (ค.ศ. 1830 - ค.ศ. 1848)[แก้]ดูบทความหลักที่ ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม และ การปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ในฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปทรงดำรงพระยศเป็นกษัตริย์ของชาวฝรั่งเศส (King of the French) ไม่ใช่กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (King of France) เป็นกษัตริย์ที่สมถะไม่ฟุ่มเฟือยและทรงรักเสรีภาพ ทำให้ทรงได้รับสมยานามว่ากษัตริย์ประชาชน (The Citizen King) ระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศสเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ดำรงอยู่ได้ 18 ปี เรียกว่า ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม (July Monarchy) เพราะมาจากการปฏิวัติกรกฎาคมในช่วงแรกของระบอบราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปทรงเป็นที่รักของปวงชนอย่างมาก และทรงไม่เหมือนกับพระราชวงศ์พระองค์ก่อนๆ คือทรงคบค้าสมาคมแต่กับพวกพ่อค้านายธนาคาร พวกชนชั้นกลาง (Bourgeoisie) ทำให้ตำแหน่งประธานสภาในสมัยนี้มาจากชนชั้นกลางทั้งสิ้น กฎบัตร ค.ศ. 1830 เป็นธรรมนูญของระบอบของพระองค์ ซึ่งมีความเป็นประชาธิปไตยและเสรีมากกว่าเดิมและพระราชอำนาจก็ถูกริดรอนลงไปมาก ในสมัยนี้ยังเกิดพวกดอกตริแนร์ (Doctrinaire) คือ ฝ่ายที่ประนีประนอมระหว่างฝ่ายกษัตริย์และฝ่ายสาธารณรัฐให้สามารถอยู่ร่วมกันได้แต่สมัยระบอบกษัตริย์เดือนกรกฎาคมไม่ได้สงบสุขมากเท่าไร เพราะเนื่องจากรัฐบาลอันประกอบด้วยพวกดอกตริแนร์และพวกออร์เลอองนิสต์ (Orléanist) พยายามจะอยู่ตรงกลาง ทำให้ทั้งฝ่ายซ้ายและขวาไม่พอใจพากันก่อกบฏ และประธานสภาทั้งหลายแม้จะมาจากชนชั้นกลางแต่ก็หัวเอียงขวา ใน ค.ศ. 1831 กาสิมี เปอรีเอร์(Casimir Perier) สั่งปิดสมาคมการเมืองและสหภาพแรงงานต่างๆ ทำให้ฝ่ายซ้าย (ฝ่ายสาธารณรัฐ) ก่อกบฏกานู (Canut revolts) ในเมืองลียง ฝ่ายขวา (ฝ่ายราชวงศ์บูร์บงสายสิทธิโดยชอบธรรม หรือพวกเลฌิติมิสต์ - Legitimist) ก็ก่อกบฏในค.ศ. 1832 นำโดยดัชเชสแห่งแบรีในพวกดอกตริแนร์เองก็แบ่งเป็นสองฝ่าย คือ พรรคเคลื่อนไหว (Parti du Movement) คือ ฝ่ายเสรีที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเสรีภาพ นำโดยอดอล์ฟ ตีแยร์(Adolph Thiers) และพรรคต่อต้าน (Parti de la résistance) คือ ฝ่ายอนุรักษนิยมที่ต่อต้านการเคลื่อนไหวเรียกร้องเสรีภาพ นำโดย ฟรองซัว กิโซต์ (François Guizot) กาสิมี แปริแอร์ และเคานท์ โมเล (Comte Molé)ในระยะหลังของสมัยกษัตริย์เดือนกรกฎาคม พวกพรรคต่อต้านมีอำนาจมากผู้นำทั้งสามคนก็ผลัดกันเป็นประธานสภา พรรคต่อต้านปิดสมาคมเพื่อยับยั้งการเคลือนไหวของฝ่ายซ้ายและกีดกันออกจากสภา และยังออกกฎหมายช่วยเหลือชนชั้นกลางให้ได้ประโยชน์จากการจ้างแรงงาน ซึ่งแรงงานชนชั้นล่างนั้นไม่สามารถออกมาเรียกร้องการถูกเอาเปรียบได้เพราะจะกลายเป็นกบฏ และยังเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในฝรั่งเศส ทำให้เกิดชนชั้นแรงงาน ชีวิตชาวฝรั่งเศสชนชั้นล่างแร้นแค้นมาก ประชาชนยากจนลงและว่างงาน เกิดความเลื่อมล้ำทางสังคมอย่างแรงระหว่างชนชั้นกลางที่ร่ำรวยกับแรงงานที่ยากจนในค.ศ. 1840 กีโซต์เป็นประธานสภา แม้หลายฝ่ายจะพยายามเสนอให้มีการปฏิรูปการปกครองที่ส่งผลให้สภาพสังคมฝรั่งเศสย่ำแย่ แต่กีโซต์ไม่ยอมให้มีการปฏิรูปใดๆ ในสมัยกษัตริย์กรกฎาคม สิทธิ์การเลือกตั้งนั้นเป็นของผู้ร่ำรวย ที่สามารถจ่ายภาษีตามเกณฑ์ให้รัฐได้ อันเป็นการรักษาอำนาจของชนชั้นกลางตอนบน (Haute Bourgeoisie) เพราะชนชั้นกลางเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเพราะมีเงิน คนจนไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรทั้งสิ้น มีความพยายามหลายครั้งที่จะแก้ไขสิทธิ์การเลือกตั้ง แต่กีโซต์ก็ตอบกลับว่า ก็ทำตัวเองให้รวยสิ (Enrichissez-vous)ในค.ศ. 1846 เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงราคาอาหารสูงขึ้น ประชาชนทนไม่ได้แล้วจึงก่อจลาจลทั่วประเทศในค.ศ. 1847 ในค.ศ. 1848 มีการนัดพบกันตามเมืองใหญ่เพื่อหารือการล้มล้างระบอบการปกครองเก่า เรียกว่า Campaigne des banquets แม้กีโซต์จะลาออก และพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปจะทรงทนมิได้สละบัลลังก์ให้พระราชโอรส แต่ก็สายไปเสียแล้ว ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 ฝรั่งเศสประกาศตั้งสาธารณรัฐที่สอง(Second Republic)สาธารณรัฐที่ 2 (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1852)[แก้]ดูบทความหลักที่ สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2หลังจากการปฏิวัติได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล (Provisional government) ขึ้น เพื่อปกครองฝรั่งเศสจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีดูปองต์ เดอ เลอร์ (Dupont de l'Eure) เป็นประธานสภา และมีคณะกรรมการบริหาร (Executive Commission) ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐไปชั่วคราว แต่ทว่าได้เกิดการลุกฮือขึ้นของฝ่ายสังคมนิยมซึ่งใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งคัดค้านแนวความคิดเสรีนิยมแบบประชาธิปไตยสาธารณรัฐซึ่งใช้ธงไตรรงค์เป็นสัญลักษณ์ และเห็นว่าตลอดการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลายครั้งที่ผ่านมาชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมกรและชนชั้นล่างนั้นไม่ดีขึ้น จึงเกิดจลาจลของชนชั้นผู้ใช้แรงงานขึ้นในปารีส เรียกว่า การลุกฮือวันเดือนมิถุนายน (June Days Uprisings) ฝ่ายรัฐบาลเฉพาะกาลนำโดยหลุยส์-เออแฌน กาแวนญัค (Louis-Eugène Cavaignac) นำกองกำลังเข้าปราบปรามจลาจลอย่างรุนแรงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับค.ศ. 1848 เสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ซึ่งเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน พระนัดดาของพระจักรพรรดินโปเลียน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งด้วยนโยบายสังคมนิยมทำให้หลุยส์-นโปเลียนได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายธงแดงและฝ่ายนิยมกษัตริย์ ในขณะที่ฝ่ายสาธารณรัฐนำโดยกาแวนญัคต้องพ่ายแพ้ไป หลุยส์-นโปเลียนจึงได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1848ในรัฐสภาสมัยของหลุยส์-นโปเลียนประกอบด้วยฝ่ายขวาจัดคือกลุ่มเลฌิติมิสต์ และกลุ่มกลาง-ขวาคือกลุ่มออร์เลียงนิสต์ รัฐธรรมนูญฉบับปีค.ศ. 1848 ไม่อนุญาตให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งเกินกว่าหนึ่งสมัย ซึ่งหลุยส์-นโปเลียนได้พยายามที่จะแก้ไขกฎหมายนี้แต่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ในสภาไม่เห็นชอบด้วย ในเดือนพฤษภาคมค.ศ. 1850 รัฐสภาฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้ออกกฎหมายตัดสิทธิ์เลือกตั้งของชนชั้นล่าง หลุยส์-นโปเลียนจึงใช้โอกาสนี้เดินสายปราศรัยโจมตีรัฐบาลฝ่ายขวา และได้รับความนิยมในกลุ่มสังคมนิยม จนกระทั่งในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1851 หลุยส์-นโปเลียนได้ก่อการรัฐประหาร (Coup of 1851) เพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลฝ่ายขวา อีกหนึ่งปีต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1852 มีการลงประชามติเห็นชอบให้ยุบระบอบสาธารณรัฐครั้งที่สองและประกาศให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิอีกครั้ง เรียกว่า จักรวรรดิที่สอง (Second Empire)จักรวรรดิที่ 2 (ค.ศ. 1852 - ค.ศ. 1870)[แก้]ดูบทความหลักที่ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 และ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3พระจักรพรรดินโปเลียนที่สามรัฐธรรมนูญปีค.ศ. 1852 กำหนดให้พระจักรพรรดินโปเลียนที่สาม เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และยังคงมีรัฐสภาอยู่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ เป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่อำนาจที่แท้จริงนั้นอยู๋ที่องค์พระจักรพรรดิ ในช่วงแรกของจักรวรรดิที่สองจักรพรรดินโปเลียนทรงจำกัดเสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์อย่างหนักและมีความเผด็จการอย่างมาก เพื่อสยบการวิจารณ์และการโจมตีของฝ่ายซ้ายสาธารณรัฐ จักรพรรดินโปเลียนที่สามทรงใช้สโลแกนจักรวรรดินำมาซึ่งสันติภาพ (L'Empire, c'est la paix) แม้กระนั้นก็ทรงนำฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามหลายครั้งในค.ศ. 1854 จักรพรรดินโปเลียนได้ทรงนำฝรั่งเศสเข้าช่วยเหลือจักรวรรดิออตโตมานในการต่อต้านแการแผ่ขยายอำนาจของจักรวรรดิรัสเซียในสงครามไครเมีย (Crimean War) นำไปสู่สนธิสัญญาปารีสค.ศ. 1856 (Treaty of Paris 1856) เปิดโอกาสให้ฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงตะวันออกกลางการยึดเมืองไซ่ง่อน ค.ศ. 1859ในรัชสมัยของพระจักรพรรดินโปเลียนที่สามยังเป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งเศสอีกด้วย โดยได้ทำการแผ่ขยายอำนาจและอาณานิคมในภูมิภาคเอเชีย อันได้แก่ในค.ศ. 1856 ได้ส่งทัพเข้าช่วยเหลือสหราชอาณาจักรในการทำสงครามฝิ่นครั้งที่สอง (Second Opium War)ในค.ศ. 1859 ชาร์ลส์ ริโกลท์ เดอ เยนูอิลลี (Charles Rigault de Genouilly) ได้นำทัพเรือฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองท่าไซ่ง่อนของเวียดนามซึ่งปกครองโดยราชวงศ์เหวียน ได้ยอมยกโคชินจีน (Cochinchina) ดินแดนทางตอนใต้ของประเทศให้แก่ฝรั่งเศสในค.ศ. 1862พระนโรดมทรงยินยอมให้อาณาจักรกัมพูชาเป็นรัฐอารักขา (Protectorate) ของฝรั่งเศสในค.ศ. 1863ในค.ศ. 1859 จักรพรดินโปเลียนทรงส่งทัพฝรั่งเศสเข้าช่วยเหลือราชอาณาจักรซาร์ดีเนีย (Kingdom of Sardinia) ซึ่งนำโดยเคานท์แห่งคาวัวร์ (Count of Cavour) ในสงครามประกาศอิสรภาพอิตาลีครั้งที่สอง (Second War of Italian Independence) ในการขับไล่ราชวงศ์แฮปสบูวร์กออกไปจากคาบสมุทรอิตาลี โดยที่ฝรั่งเศสได้รับแคว้นซาวอย (Savoy) และนีซ (Nice) มาเป็นการตอบแทนในชณะเดียวกันนั้น แคว้นปรัสเซีย (Prussia) กำลังเรืองอำนาจอยู่ในเยอรมนีและกำลังทำสงครามเพื่อทำการรวมประเทศเยอรมนี (German unification) จักรพรรดินโปเลียนทรงเห็นว่าการแผ่ขยายอำนาจของปรัสเซียจะเป็นภัยคุกคามต่อฝรั่งเศส ประกอบกับในค.ศ. 1870 ได้มีการรั่วไหลของ Ems Dispatch หรือโทรเลขที่แสดงความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์แห่งปรัสเซียและทูตฝรั่งเศส ที่ส่งถึงออตโต ฟอน บิสมาร์ก (Otto von Bismarck) เป็นจุดชนวนนำไปสู่งสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) ปรากฏว่าทัพฝ่ายปรัสเซียมีชัยชนะเหนือทัพฝรั่งเศส สามารถบุกเข้ามาในประเทศฝรั่งเศสได้ และจักรพรรดินโปเลียนก็ทรงพ่ายแพ้และถูกจับองค์ได้ในยุทธการซีดัง (Battle of Sedan) ในเดือนกันยายน เพียงสองวันต่อมาฝ่ายซ้ายสาธารณรัฐได้เลิกล้มระบอบการปกครองของจักรวรรดิฝรั่งเศส และจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นปกครองฝรั่งเศสแทน ในเวลาเดียวกับที่ทัพปรัสเซียได้ยกเข้าล้อมกรุงปารีส
bottom of page